วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์ (Vision)
ผู้เรียนมีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา มีทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีสุขภาพพลานามัยดี มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นไทย

เป้าประสงค์  (Goals)
1.  นักเรียนมีความรู้ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา เทียบเคียง
                    โรงเรียนชั้นนำระดับประเทศ สามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้  ร้อยละ
100
2.   มีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3.  นักเรียนมีความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

พันธกิจ  (Mission)
1.  พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา และเทคโนโลยี
                     เป็นพิเศษ โดยเน้นฝึกทักษะกระบวนการและคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
                2.  พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ
                3.  พัฒนาหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาให้สูงกว่าระดับปกติ
                4.  พัฒนาและเสริมสร้างสุขภาพ คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึก แห่งความเป็นไทย
                5.  พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ
6.  พัฒนาการบริหารจัดการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์  (strategies)
1.  ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดโปรแกรมทางการเรียน
                    ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา
2.  สรรหาสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้
3.  พัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในให้มีคุณภาพ และศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอก
4.  ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมกิจกรรมด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา สังคม และกิจกรรมทางศาสนา
5.  สนับสนุนให้ผู้ปกครองและหน่วยงานมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
6.  ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากรเข้ารับการอบรม ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและ
     สถาบันทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
7.  พัฒนาระบบการบริหารโดยเน้นการมีส่วนร่วม
8.  พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

ความเป็นมาของโครงการ SMA


นายโสภณ  สุขโข  ผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ( คนที่ 25 )  ประสงค์จะนำจุดเด่นของโรงเรียนใน  เรื่องการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  มาดำเนินการเป็นโครงการพิเศษ เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542  และในขณะนั้นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดร.กษมา  วรวรรณ ณ อยุธยา  มาตรวจเยี่ยมโรงเรียน  (เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2546)  ได้บันทึกการตรวจเยี่ยมที่น่าสนใจไว้ว่า    ขอสนับสนุนแนวความคิดของท่านผู้อำนวยการโสภณ ที่จะเปิดโครงการสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ขอให้เสนอแนวความคิดมายังกระทรวงศึกษาธิการ และแม้จะมีโครงการสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ขอฝากความหวังว่านักเรียนทุกคนจะได้รับการพัฒนาดูแลอย่างดี เพื่อเกียรติประวัติของโรงเรียนมหาวชิราวุธสืบไป  และจากนโยบายกรมสามัญศึกษาส่งเสริมให้สถานศึกษาในสังกัดกรมสามัญศึกษาจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้พัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสนับสนุนให้ นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน โรงเรียนมหาวชิราวุธ ได้เตรียมการในโครงการดังกล่าว โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาวางแผนศึกษาหลักสูตรพิเศษ  ศึกษาลักษณะการดำเนินงานของโครงการซึ่งได้มีมติให้
ชื่อโครงการว่า 
โครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 
                โครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ได้มีการพัฒนาไปเป็นลำดับจนปัจจุบัน โดยนายสัจจา   ศรีเจริญ  ผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  เห็นความสำคัญของโครงการจึงได้กำหนดแนวทางพัฒนาโครงการในเชิงรุกอย่างจริงจัง  ระยะแรกมีแนวคิดที่จะก่อตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา เฉลิมพระเกียรติในวโรกาส  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนม์พรรษา 80 พรรษา  โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในพระอุปถัมภ์ โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น  กำหนดเป็นโครงการต่อเนื่องมา  6  ปี (ตั้งแต่ 2549 - 2555) แต่ติดขัดด้านงบประมาณ  จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา (SMA)   ได้ดำเนินการประสานงานทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามาให้การสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา,   มหาวิทยาลัยทักษิณ,  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  ได้ร่วมลงนามร่วมมือในการจัดการศึกษา   (MoU)   ซึ่งสถาบันดังกล่าวได้ให้ความอนุเคราะห์ร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ
                มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ เช่น การส่งอาจารย์ช่วยสอน การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา  การใช้ห้องปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์  การใช้ห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ ตามที่โรงเรียนขอความอนุเคราะห์
                การจัดกระบวนการเรียนการสอนได้จัดทำหลักสูตรพิเศษมีอยู่ 2 ส่วน คือ
                                1. หลักสูตรพื้นฐาน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
                                2. หลักสูตรเพิ่มเติม จัดทำหลักสูตรแนว พสวท. โดยเน้นในรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี กำหนดให้นักเรียนเรียนในเนื้อหาสาระที่ลึก มีติวเข้มเป็นระยะ จัดกิจกรรมเสริม เรียนวิชาโครงงาน จัดสอนกลุ่มย่อย เรียนในภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  เทคโนโลยี และภาษา ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้ง 3 สถาบันได้ให้การสนับสนุนตามข้อตกลงความร่วมมือเป็นอย่างดี การจัดกิจรรมเสริม และการศึกษาแห่งเรียนรู้ในประเทศและต่างประเทศ มุ่งหวังให้นักเรียนได้ประสบการณ์การเรียนรู้ เปิดโลกทัศน์ และจุดประกายความคิดในการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสังคมที่กำลังพัฒนาได้เป็นอย่างดี
                ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้นำกระบวนการอบรม สั่งสอนและพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม เน้นโดยเฉพาะ คุณธรรม จริยธรรมใน 5 ประการ คือ วินัย ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความเป็นประชาธิปไตย และความเป็นไทย
สำหรับครูผู้สอน โรงเรียนได้คัดเลือกครูที่มีความสามารถในแต่ละรายวิชามาเป็นผู้สอน ผู้ควบคุมดูแลเป็นพิเศษ ส่วนการเรียนการสอนภาษา กำหนดให้เรียนกับครูต่างประเทศซึ่งเป็นเจ้าของภาษาโดยตรง
                แนวคิดดังกล่าวข้างต้นคาดหวังว่าโรงเรียนมีระบบมาตรฐานการบริหารจัดการได้ระดับสากล  เพื่อเป้าหมายที่สำคัญ คือ นักเรียนในโครงการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและภาษา (SMA) ได้รับการพัฒนาด้านคุณภาพเต็มศักยภาพในระดับสากล และมีคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข










ความเป็นมาของโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา

โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2539 โดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และได้ขอพระราชทานนามโรงเรียนจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ว่า มหาวชิราวุธ ซึ่งเป็นพระนามของเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
                เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ได้ทรงพระกรุณารับโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ไว้ในพระอุปถัมภ์  ปัจจุบันโรงเรียน มีชื่อว่า โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ตราประจำโรงเรียน

ปรัชญาประจำโรงเรียน
                                หัวโต                  หมายถึง                                มีความรู้ความสามารถ
มือใหญ่               หมายถึง                               การใช้ความรู้ความสามารถประกอบกิจการงานให้ได้ผล
ใจกว้าง               หมายถึง                               มีความเป็นประชาธิปไตย มีน้ำใจนักกีฬา
ร่างสมาร์ท      หมายถึง                      มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
สีประจำโรงเรียน
น้ำเงิน ขาว       เป็นสีประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สีน้ำเงิน                หมายถึง               การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
สีขาว                    หมายถึง               ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตใจบริสุทธิ์  ยึดมั่นในศาสนา